งานไส
เครื่องไสเป็นเครื่องจักรกลชนิดหนึ่งที่ใช้ทุ่นแรงในการตัดเฉือน ส่วนใหญ่จะใช้กับงานตัดผิวเรียบโดยการจับยึดชิ้นงานเข้ากับปากกาแล้วจับยึด ชิ้นงานเข้ากับปากกาแล้วจับยึดปากกาเข้ากับแท่นของเครื่อง ให้คมตัดเคลื่อนตัดในแนวเส้นตรงผ่านกลับไปมาตลอดผิวหน้าของชิ้นงาน
การทำงานของเครื่องไส เกิดขึ้นระหว่างมีดไสกับชิ้นงาน ส่วนใหญ่จะอยู่ กับที่ตัวมีดไสจะเคลื่อนที่ทำการตัดเฉือนผิวงานออกให้เป็นรูปร่างตามต้องการ ก่อนที่จะทำการไสต้องทำการเตรียมมีดสำหรับงานไสตามลักษณะ งานและอุปกรณ์สำหรับงานไสประกอบไปด้วยมือหมุน แท่น ระดับ ที่รองมีดให้พร้อม
การไสผิวงานเรียบป้อมมีดจะตั้งฉากกับผิวงาน แต่สำหรับการไสผิวเอียงสามารถที่จะทำการปรับหัวไสให้ได้มุมตาม องศาที่กำหนดให้หรือจะทำการปรับฟอร์มมีดให้เหมาะสมกับงาน ข้อควรระวังคือขณะทำการไสชิ้นงานไม่ควรยืนตรงหน้าเครื่องไส เพราะจะเกิดอันตรายจากเศษโลหะที่กระเด็นและป้องกันความ ปลอดภัยที่เกิดจากการงัดของชิ้นงาน
วิธีการไสงาน
วิธีการไสงานเครื่องไสจัดได้ว่าเป็น เครื่องจักรที่ช่วยลดขนาดของงานให้ได้รูปทรงตามความต้องการ ใช้งานได้อย่างรวดเร็ว กลไกและการทำงาน ภายในเครื่องก็ไม่ยุ่งยากซับซ้อนให้ความสะดวกในการทำงานสูง องค์ประกอบหลักของการไสงานจะประกอบด้วยตัวมีดไส ( CUTTING TOOL ) และชิ้นงานลักษณะของการทำงานจะ แบ่งออกเป็น
1. กรณีชิ้นงานอยู่กับที่คมตัด ( CUTTING TOOL )
จะใช้กับเครื่องไสขนาดเล็ก หรือเรียกกันว่าเครื่องไสช่วงสั้น ( SHAPER MACHINE )
2. กรณีชิ้นงานเคลื่อนที่ แต่คมตัด ( CUTTING TOOL )
อยู่กับที่จะใช้กับเครื่องไสขนาดใหญ่หรือเรียกว่า เครื่องไสช่วงยาว
( PLANER MACHINE OR SLOTING MACHINE )
อุปกรณ์จับยึดชิ้นงานไส ที่ใช้กันมากโดยทั่วไปได้แก่ปากกา ประกอบเข้ากับโต๊ะของเครื่องไส
โดยการจับยึดของ สลักเกลียวและนอตผ่านร่องที ( T-SLOT )
นอกจากปากกาก็มีอุปกรณ์อื่น ๆ อีกมากมายที่ใช้จับยึดชิ้นงาน เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะของงาน
และสะดวกต่อการทำงาน
การจับชิ้นงานไสด้วยปากกา การจับยึดด้วยปากกาส่วนใหญ่จะเป็นชิ้นงานขนาดเล็ก เพราะ ให้ความสะดวกและรวดเร็วในการจับยึดมาก ถึงแม้จะทำในรูปของงานผลิต ปากกาจะถูกตรวจสอบ หาความเที่ยงตรงเพียงครั้งเดียวสามารถจับงานได้ทั้งหมดได้ เมื่อเลิกใช้งานก็ปรับให้อยู่ในสภาพเดิมได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลง อะไรเลย
กรรมวิธีการจับชิ้นงานไส
เมื่อขันล็อคปากกาแน่น ชิ้นงานจะโก่ง บิดตัว ไม่อยู่ในแนวระดับจะต้องใช้ค้อนไม้หรือ ค้อนยางเคาะ ภายหลังจากการขันล็อคปากกาพอตึง ๆ เพื่อช่วยให้การเบี่ยงตัวของชิ้นงานลด ลงให้ล็อคแน่นงานจะอยู่ในแนวระดับ
ในการปรับระดับของชิ้นงานลักษณะนี้ไม่ควรจะ ใช้ค้อนเหล็กเคาะ เพราะจะทำให้งานเป็นรอย หรือร้าวภายในเนื้องานได้ ทิศทางของการไสงานจะ เห็นได้ว่าแรงดันไสของมีดไส จะออกแรงต้านการจับยึด ดังนั้นการตั้งชิ้นงานไสจะ ต้องคำนึงถึงและตั้งให้เหมาะสมกับการทำงาน
มีดไส
จัดเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งของการ ทำงานไส ถ้าไม่มีมีดไสก็จะไม่เกิดการไสขึ้น มีดไสที่ใช้ไสงานจะมีรูปร่างคมตัดเป็นไปตามลักษณะของการ ใช้งาน ซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและรูปแบบของงาน ที่ต้องการ มีดไสมีอยู่ 2 ชนิด คือ
1. มีดไสใช้ประกอบกับด้ามจับ
2. มีดไสใช้ประกอบเข้ากับป้อมมีดได้ทันที
วิธีการไสผิวงานในแนวดิ่ง ( VERTICAL SHAPING )
กรรมวิธีการไสผิวงานในแนวดิ่งนั้นกระทำได้ สองแบบคือ การจับชิ้นงานในแนวนอน
( HORLIZONTAL ) เป็นการจับชิ้นงานให้โผล่ออกมาทางด้าน ข้างของปากกา แล้วใช้มีดไส ลงมาในแนวดิ่ง ให้สังเกตการจับมีดไสพร้อมกับการ ปรับกล่องมีดไสให้เอียง เพื่อช่วยมุมคมตัดนของมีด ไสทำงานได้ในแนวทิศทางที่สะดวกขึ้น มากกว่าการจับ กล่องมีดไสตรง ๆ
การไสงานขึ้นรูป
เป็นกรรมวิธีการไสชิ้นงานมีขนาดและรูปทรง ตามความต้องการใช้งาน จากเนื้อหาต่อไปนี้จะกล่าว ถึงเฉพาะการไสขึ้นรูปทั่วไป เป็นเทคนิคและแนวทาง ให้นำไปดัดแปลงวิธีการทำงานแบบต่างๆ ได้
การไสขึ้นสัน ( TONGUE )
เป็นการจับชิ้นงานของปากกา การจับมีดไส การ เอียงของกล่องมีด โดยเฉพาะลักษณะของคมตัดของมีดไส ที่จะทำการไสขึ้นรูปในแนวดิ่งของชิ้นงาน ปลายของ มีดจะแหลมคมและหลบเอียง เพื่อให้ผลของการไสตั้งได้ฉากกัน
การไสร่อง ( GROOVE )
เป็นลักษณะของการทำงานเช่นเดียวกับการไสขึ้นสัน เพียงแต่ไสลึกลงไปภายในของชิ้นงาน และลักษณะจะเป็นร่องฉาก ท้องของร่องจะต้องได้แนว ระดับตั้งได้ฉากเข้ากับข้างร่อง ปลายคมตัดของมีดไส จะแหลมคม และช่วงมุมหลบจะต้องไม่ให้เสียดสีกับผิวด้านล่างของงาน เพราะจะทำให้ชิ้นงานเป็นรอย
การไสผิวเอียง ( ANGLE )
เป็นการไสชิ้นงานขึ้นรูปแบบหนึ่ง ซึ่ง ลักษณะนี้การจับชิ้นงานจะจับในแนวระดับการตั้งมีดจะต้องตั้งให้ได้ฉากกับงาน ไสตัดตรงลงมาก่อน แล้วจึงจะปรับ กล่องมีดทำการไสเอียงโดยให้กล่องมีดเอียงทำมุมเท่ากับมุมเอียงของชิ้นงาน การป้อนไสจะป้อนขึ้น – ลงตามแนว ลูกศร ป้อมมีดและด้ามมีดจะถูกปรับเอียงทำมุมเพื่อ ช่วยหลบมีดในการลดการเสียดสี
วิธีการไสร่องลิ่ม ( KEY WAY )
ร่องลิ่มที่เกิดจากการไส ส่วนใหญ่เป็นช่องสี่เหลี่ยมยาว เกิดขึ้น โดยการใช้มีดตัดไสซึ่งมีดนี้จะลับเป็นรูปร่างตามการใช้งาน ลักษณะของมีดตามรูปฟอร์มการหลบคมข้างเพื่อลดการเสียดสี คมตัดตรงเพื่อให้ได้ร่องาตัดตรงเช่นเดียวกัน ซึ่งในการไสงานจะต้องระวังการงัดกันระหว่างคมตัดของมีดกับผิวงาน ซึ่งจะต้องสัมผัสเต็มหน้ามีด ขณะตัดเฉือนดังนั้นการป้อนจึงต้องป้อนตัดทีละน้อย ๆ การไสจะต้องระมัดระวังในการไสให้มากขึ้นกว่าการไส แบบอื่น ๆ ร่องไสนี้จะต้องมีความ สัมพันธ์กับแท่งลิ่ม จะต้องไม่หลวมคลอนขณะประกอบ งานร่วมกันในลักษณะของการประกอบงานร่วมกันแล้วจะต้องให้อัดแน่น โดยการใช้ค้อนไม้หรือค้อนยางเข้าช่วย แต่ไม่ได้หมายถึงอัดแน่นจนถอดไม่ออก หรือหลวมคลอน จนใช้งานไม่ได้
วิธีการไสภายใน
มีดไสที่ใช้จะมีลักษณะเหมือนกับมีดไสตัด จะถูกจับด้วยด้ามจับ จะเคลื่อนที่ตัดเฉือนในแนว ทิศทางลูกศร มีดไสที่นำมาใช้ส่วนใหญ่จะเป็นแท่ง ขนาดแท่งสี่เหลี่ยมเล็ก และถูกตัดให้สั้นเท่าที่จะ เข้าไปอยู่ภายในของชิ้นงานได้ ดังนั้นในการจับลับ แต่งให้ได้รูปร่างและความคมตามความต้องการจึงทำได้ยาก เพราะเนื้อที่ที่จะให้มือจับมีน้อย ขณะ ทำการลับก็จะเกิดความร้อนสูงและอาจจะพลาดโดนนิ้วมือตัวเองได้ วิธีการแก้โดยทำด้ามจับขึ้นมาใหม่ มีดจะถูกจับยึดอยู่ในด้ามจับและขันแน่นด้วยสกูร ซึ่ง ด้ามจับนี้จะมีความยาวพอประมาณให้จับถือได้สะดวก
วิธีการไสงานขึ้นรูปโค้ง
กรรมวิธีการไสงานขึ้นรูปโค้ง ในบางครั้งงานไสที่ต้องการจะมีรูปทรงแปลก ๆ ออกไปจากการไสในลักษณะปรกติ ซึ่งขึ้นอยู่กับการใช้ งาน ซึ่งรูปร่างลักษณะของงานเหล่านี้จะมีความ สัมพันธ์กับรูปร่างของคมตัดมีด จะต้องทำการลับให้ ได้รูปทรงตามความต้องการใช้งาน คมตัดบางชนิดจะ ทำการลับแต่งคมลำบากมาก จะใช้หินลับแบบปรกติทั่วๆ ไปไม่ได้ โดยเฉพาะมีดไส โค้งภายนอก เพราะการลับเว้าขนาดของหน้าหินจะกว้างกว่า ซึ่ง ต้องอาศัยมุมขอบล้อหินหรือหินที่มีขนาดความหนาน้อยพอที่จะลับได้ตามขนาดของ ร่องเว้า
ส่วนใหญ่ของการลับมีดไสขึ้นรูปด้วยหิน เจียระไนเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะนำมาลับแท่งแต่งด้วย หินน้ำมันอีกครั้งเพื่อให้ผิวเรียบ และขอบเย็นหรือครีบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นขณะลับด้วยหินเจียระไนจะลดลงไป เมื่อนำไปไสงานผิวจะเรียบขึ้น